เบิกค่าเล่าเรียนบุตร 2566 รวมเอกสารเบิกค่าเล่าเรียนบุตร และอัตราเบิกค่าเล่าเรียนบุตร สำหรับ ข้าราชการ จาก กรมบัญชีกลาง ดาวน์โหลดที่นี่
สวัสดีค่ะ วันนี้ทีมงาน ครูคูลดอทคอม มีเรื่องราวเกี่ยวกับ เบิกค่าเล่าเรียนบุตร 2566 รวมเอกสารเบิกค่าเล่าเรียนบุตร และอัตราเบิกค่าเล่าเรียนบุตร สำหรับ ข้าราชการ จาก กรมบัญชีกลาง ดาวน์โหลดที่นี่ ซึ่งสามารถใช้ตรวจสอบการเบิกค่าเล่าเรียนบุตร ประจำปี 2566 – 2567 และทางทีมงานได้ขอรวบรวมเอกสารเบิกค่าเล่าเรียนบุตร ข้าราชการ รวมทั้ง อัตราเบิกค่าเล่าเรียนบุตร เพื่อให้ทุกท่านที่สนใจได้ดาวน์โหลด โดยมีรายละเอียด ดังนี้ค่ะ
เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง เอกสารเบิกค่าเล่าเรียนบุตร ข้าราชการ 2566 อัตราเบิกค่าเล่าเรียนบุตร ข้าราชการ 2566 เบิกได้เท่าไหร่ ใช้หลักฐานอะไร คลิกที่นี่
เบิกค่าเล่าเรียนบุตร 2567 รวมเอกสารเบิกค่าเล่าเรียนบุตร ใช้ในปี พ.ศ. 2567 – 2568 ดาวน์โหลดที่นี่
กรมบัญชีกลาง ชี้แจงการเบิกเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาบุตรตามสิทธิสวัสดิการของข้าราชการ ยังคงเป็นไปตามอัตราเดิม ที่กรมบัญชีกลางกำหนดกรมบัญชีกลางได้ปรับปรุงพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาบุตร พ.ศ. 2562 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา และมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 13 มิถุนายน 2562 เป็นต้นไป ทำ ให้ เกิดความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว และมีการส่งต่อข้อความทางแชทไลน์ ดังนี้ “บังคับใช้วันนี้แล้ว 13/6/62 เป็นต้นไป เบิกได้ตามที่เสียค่าเล่าเรียนจริง ถ้าค่าเล่าเรียนลูกเทอมละ 3 หมื่นก็เบิกได้ 3 หมื่นครับ เบิกได้จนลูกจบปริญญาตรี ข้าราชการที่เกษียณอายุแล้วก็ยังเบิกค่าเล่าเรียนลูกได้เต็มจำนวน” กรมบัญชีกลาง ขอชี้แจงว่า ข้อความดังกล่าวไม่เป็นความจริง พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการ
เกี่ยวกับการศึกษาบุตร พ.ศ. 2562 มีการแก้ไขปรับปรุงบทบัญญัติบางประการเพื่อให้มีความชัดเจน เหมาะสม และสอดคล้องกับการจัดระบบการศึกษาในปัจจุบันเท่านั้น และไม่มีการปรับอัตราการเบิกเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาบุตรแต่อย่างใด ยังคงใช้อัตราการเบิก
ตามหนังสือเวียนกรมบัญชีกลาง ด่วนที่สุด ที่กค 0422.3/ว 257 ลงวันที่ 28 มิถุนายน 2559และด่วนที่สุด ที่ กค 0408.5/ว 22 ลงวันที่ 12 มกราคม 2561 ตามเดิม
สำหรับสถานศึกษาของเอกชน ในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือเทียบเท่า และหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค (ปวท.) หรือเทียบเท่า ให้เบิกได้ครึ่งหนึ่งของ จำนวนที่จ่ายจริงของค่าเล่าเรียนปีการศึกษา ละไม่เกิน 25,000–30,000 บาท ตามประเภท วิชาหรือสายวิชา และหลักสูตรปริญญาตรี ให้เบิกจ่ายครึ่งหนึ่งของจำ นวนที่ได้จ่ายไปจริง ของค่าเล่าเรียนปีการศึกษาละไม่เกิน 25,000 บาท ค่าเล่าเรียนที่ให้เบิกจ่ายได้จะต้องเป็นค่าธรรมเนียม
การเรียนหรือค่าธรรมเนียมต่างๆ ซึ่งสถานศึกษาเอกชนเรียกเก็บตามอัตราที่ได้รับอนุมัติจาก กระทรวงศึกษาธิการหรือมหาวิทยาลัย
ข้อมูลอัตราเบิกค่าเล่าเรียนบุตรของข้าราชการ ตรรวสอบอัตราเบิกค่าเล่าเรียนบุตร และเอกสารเบิกค่าเล่าเรียนบุตร ดังนี้ค่ะ
เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร หมายถึง เงินที่ทางราชการช่วยเหลือเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการศึกษาสําหรับบุตรของข้าราชการ ข้าราชการบํานาญ และลูกจ้างประจํา ได้แก่
1. ข้าราชการหรือลูกจ้างประจํา ซึ่งรับเงินเดือนหรือค่าจ้างจากเงินงบประมาณ รายจ่ายหมวดเงินเดือนหรือค่าจ้างประจาของกระทรวง กรม ยกเว้น ข้าราชการการเมือง ข้าราชการตํารวจชั้นพลตํารวจที่อยู่ระหว่างเข้ารับการอบรมในสถานศึกษาของกรมตํารวจซึ่งเป็น การศึกษาอบรมก่อนเข้าปฏิบัติราชการประจํา
ลูกจ้างชาวต่างประเทศซึ่งมีหนังสือสัญญาจ้าง
2. ผู้ได้รับบํานาญปกติหรือผู้ได้รับบํานาญพิเศษเหตุทุพพลภาพ ตามกฎหมายว่าด้วยบําเหน็จ บํานาญข้าราชการ และทหารกองหนุนมีเบี้ยหวัดตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหมว่าด้วยเงินเบี้ยหวัด
บุตร หมายความว่า บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายซึ่งมีอายุครบ 3 ปีแต่ไม่เกิน 25 ปีทั้งนี้ ไม่รวมถึงบุตรบุญธรรมและบุตรซึ่งบิดามารดาได้ยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของผู้อื่น บุตรที่มีสิทธิได้รับการช่วยเหลือเกี่ยวกับเงินการศึกษาของบุตร ได้แก่ บุตรคนที่ 1 ถึงคนที่ 3 โดยนับเรียงตามลําดับเกิดก่อนหลัง ทั้งนี้ไม่ว่าเป็นบุตรที่เกิดจากการ สมรสครั้งใด หรืออยู่ในอํานาจปกครองของตนหรือไม่ กรณีผู้มีสิทธิผู้ใดยังไม่มีบุตรหรือมีบุตรที่มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาบุตรยัง
ไม่ครบ 3 คน ต่อมามีบุตรแฝดทําให้จํานวนบุตรเกิน 3 คน ให้ผู้นั้นมีสิทธิได้รับสวัสดิการสําหรับบุตรคนที่ 1 ถึงคนสุดท้าย แต่บุตรแฝดดังกล่าวจะต้องเป็นบุตรซึ่งเกิดจากคู่สมรส หรือเป็นบุตรของตนเองในกรณีที่หญิง เป็นผู้ใช้สิทธิ บุตรที่เกินกว่า 3 คน แต่ในจํานวน 3 คนนั้น ถ้าตาย กายพิการหรือเป็นคนไร้ความสามารถ
วิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบก่อนอายุครบ 25 ปีบริบูรณ์ให้เอาบุตรลําดับต่อไปนํามาเบิกได้ให้ครบ 3 คน อย่างเดิม จนกว่าจะหมดสิทธิ
สถานศึกษาของทางราชการ หมายความว่า
1. มหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษาที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งมีฐานะเทียบเท่าวิทยาลัยในสังกัด หรืออยู่ในกํากับของกระทรวงศึกษาธิการหรือที่อยู่ในกํากับของรัฐ
2. วิทยาลัยหรือสถานศึกษาที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งมีฐานะเทียบเท่าวิทยาลัยในสังกัด หรืออยู่ในกํากับของกระทรวงศึกษาธิการ หรือส่วนราชการอื่นที่ก.พ.รับรองคุณวุฒิ
3. โรงเรียนในสังกัดหรืออยู่ในกํากับของกระทรวงศึกษาธิการ มหาวิทยาลัย วิทยาลัย องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตําบล กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่มีกฎหมายจัดตั้ง และให้หมายความรวมถึงโรงเรียนที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีการจัดระดับชั้นเรียนด้วย
4. โรงเรียนในสังกัดหรืออยู่ในกํากับของส่วนราชการอื่นหรือองค์การของรัฐบาลที่ก.พ. รับรองคุณวุฒิ
5. โรงเรียนในสังกัดส่วนราชการที่กระทรวงการคลังกําหนด
6. สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยที่มีการจัดระดับชั้นเรียนในสังกัดส่วนราชการ
สถานศึกษาเอกชน หมายความว่า
1. สถาบันอุดมศึกษาเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
2. โรงเรียนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนที่จัดการศึกษาในระบบโรงเรียนและให้รวมถึงโรงเรียนนานาชาติเงินบํารุงการศึกษา หมายความว่า เงินประเภทต่างๆ ที่สถานศึกษาของทางราชการเรียกเก็บตามอัตราที่ได้รับอนุมัติจากกระทรวงศึกษาธิการ ส่วนราชการเจ้าสังกัด หรือที่กํากับ มหาวิทยาลัย องค์การ
บริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตําบล กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีกฎหมายจัดตั้ง หรือองค์การของรัฐบาล
เงินค่าเล่าเรียน หมายความว่า เงินค่าธรรมเนียมการเรียนหรือค่าธรรมเนียมต่างๆ ซึ่งสถานศึกษาของเอกชนเรียกเก็บตามอัตราที่ได้รับอนุมัติจากกระทรวงศึกษาธิการค่าธรรมเนียมการเรียน หมายถึง เงินที่สถานศึกษาเอกชนเรียกเก็บตามอัตราที่ได้รับอนุมัติจากส่วนราชการที่ควบคุมดูแลสถานศึกษานั้น และให้หมายความรวมถึงค่าธรรมเนียมอื่นเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วย
เอกสารเบิกค่าเล่าเรียนบุตร ข้าราชการ 2566 การเบิกค่าเล่าเรียนบุตร โดย กระทรวงการคลัง ใช้หลักฐานอะไรบ้าง รายละเอียดข้องล่างนี้ค่ะ ทั้งนี้ให้เช็ครายละเอียด กับต้นสังกัดอีกรอบค่ะ
หลักฐาน/เอกสารที่ใช้เบิกจ่าย
1. ใบเบิกเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร (แบบ 7223)
2. ใบเสร็จรับเงินจากสถานศึกษา
3. สําเนาใบอนุญาตของกระทรวงศึกษาธิการ กรณีเป็น สถานศึกษาเอกชน
4. หลักฐานแยกกันอยู่ (แบบ บก.ชล.8) กรณีไม่ประสงค์จะอยู่ ร่วมกันฉันท์สามีภรรยา
5. หนังสือแจ้งการใช้สิทธิและหนังสือตอบรับการแจ้งการใช้ สิทธิ (กรณีใช้สิทธิ์ภรรยา)
6. สําเนาหนังสือสําคัญแสดงการรับรองบุตรกรณีไม่ได้จดทะเบียนสมรส
ดาวน์โหลด ใบเบิกเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร (แบบ 7223) ได้ที่นี่
ดาวน์โหลดเอกสาร สวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาบุตร จากกรมบัญชีกลาง คลิกที่นี่
ดาวน์โหลดเอกสารการขอเบิกเงินสวัสดิการค่าการศึกษาบุตร เพิ่มเติม คลิกที่นี่
ขอบคุณข้อมูลจาก กรมบัญชีกลาง
เรื่องราวที่น่าสนใจ ราคากลางวัสดุก่อสร้าง 2566 บัญชีราคาค่าวัสดุและค่าแรง สพฐ. ปีงบประมาณ 2567