วันอาทิตย์, ตุลาคม 6, 2024
หน้าแรกข่าวประจำวันอัตราเบิกค่าเล่าเรียนบุตร ข้าราชการ 2566 เบิกได้เท่าไหร่ ใช้หลักฐานอะไร ตรรวสอบอัตราเบิกค่าเล่าเรียนบุตร คลิกที่นี่

อัตราเบิกค่าเล่าเรียนบุตร ข้าราชการ 2566 เบิกได้เท่าไหร่ ใช้หลักฐานอะไร ตรรวสอบอัตราเบิกค่าเล่าเรียนบุตร คลิกที่นี่

advertisement

อัตราเบิกค่าเล่าเรียนบุตร ข้าราชการ 2566 เบิกได้เท่าไหร่ ใช้หลักฐานอะไร ตรรวสอบอัตราเบิกค่าเล่าเรียนบุตร คลิกที่นี่

สวัสดีค่ะ วันนี้ทีมงาน ครูคูลดอทคอม มีเรื่องราวเกี่ยวกับ อัตราเบิกค่าเล่าเรียนบุตร ข้าราชการ 2566 เบิกได้เท่าไหร่ ใช้หลักฐานอะไร ตรรวสอบอัตราเบิกค่าเล่าเรียนบุตร คลิกที่นี่ ซึ่งสามารถใช้ตรวจสอบการ เบิกค่าเล่าเรียนบุตร ประจำปี 2566 – 2567 และทางทีมงานได้ขอรวบรวมเอกสารเบิกค่าเล่าเรียนบุตร ข้าราชการ เพื่อให้ทุกท่านที่สนใจได้ดาวน์โหลด โดยมีรายละเอียด ดังนี้ค่ะ

เอกสารเบิกค่าเล่าเรียนบุตร ข้าราชการ 2567 กรมบัญชีกลาง  คลิกที่นี่

advertisement

advertisement

อัตราเบิกค่าเล่าเรียนบุตร ข้าราชการ 2566 เบิกได้เท่าไหร่ ใช้หลักฐานอะไร ตรรวสอบอัตราเบิกค่าเล่าเรียนบุตร คลิกที่นี่
อัตราเบิกค่าเล่าเรียนบุตรข้าราชการ 2566 เบิกได้เท่าไหร่ ใช้หลักฐานอะไร ตรรวสอบอัตราเบิกค่าเล่าเรียนบุตร คลิกที่นี่

 

เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง เอกสารเบิกค่าเล่าเรียนบุตร ข้าราชการ 2566 ตรวจสอบอัตราเบิกค่าเล่าเรียนบุตร และหลักฐานการเบิกค่าเล่าเรียนบุตร คลิกที่นี่

เบิกค่าเล่าเรียนบุตร 2566 รวมเอกสารเบิกค่าเล่าเรียนบุตร และอัตราเบิกค่าเล่าเรียนบุตร สำหรับ ข้าราชการ จาก กรมบัญชีกลาง ดาวน์โหลดที่นี่

อัตราเบิกค่าเล่าเรียนบุตร ข้าราชการ 2567 เบิกได้เท่าไหร่ ใช้หลักฐานอะไร ตรรวสอบอัตราเบิกค่าเล่าเรียนบุตร จาก กรมบัญชีกลาง คลิกที่นี่

กรมบัญชีกลาง ชี้แจงการเบิกเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาบุตรตามสิทธิสวัสดิการของข้าราชการ ยังคงเป็นไปตามอัตราเดิม ที่กรมบัญชีกลางกำหนดกรมบัญชีกลางได้ปรับปรุงพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาบุตร พ.ศ. 2562 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา และมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 13 มิถุนายน 2562 เป็นต้นไป ทำ ให้ เกิดความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว และมีการส่งต่อข้อความทางแชทไลน์ ดังนี้ “บังคับใช้วันนี้แล้ว 13/6/62 เป็นต้นไป เบิกได้ตามที่เสียค่าเล่าเรียนจริง ถ้าค่าเล่าเรียนลูกเทอมละ 3 หมื่นก็เบิกได้ 3 หมื่นครับ เบิกได้จนลูกจบปริญญาตรี ข้าราชการที่เกษียณอายุแล้วก็ยังเบิกค่าเล่าเรียนลูกได้เต็มจำนวน” กรมบัญชีกลาง ขอชี้แจงว่า ข้อความดังกล่าวไม่เป็นความจริง พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการ
เกี่ยวกับการศึกษาบุตร พ.ศ. 2562 มีการแก้ไขปรับปรุงบทบัญญัติบางประการเพื่อให้มีความชัดเจน เหมาะสม และสอดคล้องกับการจัดระบบการศึกษาในปัจจุบันเท่านั้น และไม่มีการปรับอัตราการเบิกเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาบุตรแต่อย่างใด ยังคงใช้อัตราการเบิก
ตามหนังสือเวียนกรมบัญชีกลาง ด่วนที่สุด ที่กค 0422.3/ว 257 ลงวันที่ 28 มิถุนายน 2559และด่วนที่สุด ที่ กค 0408.5/ว 22 ลงวันที่ 12 มกราคม 2561 ตามเดิม

สำหรับสถานศึกษาของเอกชน ในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือเทียบเท่า และหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค (ปวท.) หรือเทียบเท่า ให้เบิกได้ครึ่งหนึ่งของ จำนวนที่จ่ายจริงของค่าเล่าเรียนปีการศึกษา ละไม่เกิน 25,000–30,000 บาท ตามประเภท วิชาหรือสายวิชา และหลักสูตรปริญญาตรี ให้เบิกจ่ายครึ่งหนึ่งของจำ นวนที่ได้จ่ายไปจริง ของค่าเล่าเรียนปีการศึกษาละไม่เกิน 25,000 บาท ค่าเล่าเรียนที่ให้เบิกจ่ายได้จะต้องเป็นค่าธรรมเนียม
การเรียนหรือค่าธรรมเนียมต่างๆ ซึ่งสถานศึกษาเอกชนเรียกเก็บตามอัตราที่ได้รับอนุมัติจาก กระทรวงศึกษาธิการหรือมหาวิทยาลัย

advertisement

ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม คลิกที่นี่

ข้อมูลอัตราเบิกค่าเล่าเรียนบุตรของข้าราชการ ตรรวสอบอัตราเบิกค่าเล่าเรียนบุตร และเอกสารเบิกค่าเล่าเรียนบุตร ดังนี้ค่ะ

เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร หมายถึง เงินที่ทางราชการช่วยเหลือเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการศึกษาสําหรับบุตรของข้าราชการ ข้าราชการบํานาญ และลูกจ้างประจํา ได้แก่

1. ข้าราชการหรือลูกจ้างประจํา ซึ่งรับเงินเดือนหรือค่าจ้างจากเงินงบประมาณ รายจ่ายหมวดเงินเดือนหรือค่าจ้างประจาของกระทรวง กรม ยกเว้น ข้าราชการการเมือง ข้าราชการตํารวจชั้นพลตํารวจที่อยู่ระหว่างเข้ารับการอบรมในสถานศึกษาของกรมตํารวจซึ่งเป็น การศึกษาอบรมก่อนเข้าปฏิบัติราชการประจํา
ลูกจ้างชาวต่างประเทศซึ่งมีหนังสือสัญญาจ้าง
2. ผู้ได้รับบํานาญปกติหรือผู้ได้รับบํานาญพิเศษเหตุทุพพลภาพ ตามกฎหมายว่าด้วยบําเหน็จ บํานาญข้าราชการ และทหารกองหนุนมีเบี้ยหวัดตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหมว่าด้วยเงินเบี้ยหวัด

บุตร หมายความว่า บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายซึ่งมีอายุครบ 3 ปีแต่ไม่เกิน 25 ปีทั้งนี้ ไม่รวมถึงบุตรบุญธรรมและบุตรซึ่งบิดามารดาได้ยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของผู้อื่น บุตรที่มีสิทธิได้รับการช่วยเหลือเกี่ยวกับเงินการศึกษาของบุตร ได้แก่ บุตรคนที่ 1 ถึงคนที่ 3 โดยนับเรียงตามลําดับเกิดก่อนหลัง ทั้งนี้ไม่ว่าเป็นบุตรที่เกิดจากการ สมรสครั้งใด หรืออยู่ในอํานาจปกครองของตนหรือไม่ กรณีผู้มีสิทธิผู้ใดยังไม่มีบุตรหรือมีบุตรที่มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาบุตรยัง
ไม่ครบ 3 คน ต่อมามีบุตรแฝดทําให้จํานวนบุตรเกิน 3 คน ให้ผู้นั้นมีสิทธิได้รับสวัสดิการสําหรับบุตรคนที่ 1 ถึงคนสุดท้าย แต่บุตรแฝดดังกล่าวจะต้องเป็นบุตรซึ่งเกิดจากคู่สมรส หรือเป็นบุตรของตนเองในกรณีที่หญิง เป็นผู้ใช้สิทธิ บุตรที่เกินกว่า 3 คน แต่ในจํานวน 3 คนนั้น ถ้าตาย กายพิการหรือเป็นคนไร้ความสามารถ
วิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบก่อนอายุครบ 25 ปีบริบูรณ์ให้เอาบุตรลําดับต่อไปนํามาเบิกได้ให้ครบ 3 คน อย่างเดิม จนกว่าจะหมดสิทธิ

สถานศึกษาของทางราชการ หมายความว่า
1. มหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษาที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งมีฐานะเทียบเท่าวิทยาลัยในสังกัด หรืออยู่ในกํากับของกระทรวงศึกษาธิการหรือที่อยู่ในกํากับของรัฐ
2. วิทยาลัยหรือสถานศึกษาที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งมีฐานะเทียบเท่าวิทยาลัยในสังกัด หรืออยู่ในกํากับของกระทรวงศึกษาธิการ หรือส่วนราชการอื่นที่ก.พ.รับรองคุณวุฒิ
3. โรงเรียนในสังกัดหรืออยู่ในกํากับของกระทรวงศึกษาธิการ มหาวิทยาลัย วิทยาลัย องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตําบล กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่มีกฎหมายจัดตั้ง และให้หมายความรวมถึงโรงเรียนที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีการจัดระดับชั้นเรียนด้วย
4. โรงเรียนในสังกัดหรืออยู่ในกํากับของส่วนราชการอื่นหรือองค์การของรัฐบาลที่ก.พ. รับรองคุณวุฒิ
5. โรงเรียนในสังกัดส่วนราชการที่กระทรวงการคลังกําหนด
6. สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยที่มีการจัดระดับชั้นเรียนในสังกัดส่วนราชการ

สถานศึกษาเอกชน หมายความว่า
1. สถาบันอุดมศึกษาเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
2. โรงเรียนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนที่จัดการศึกษาในระบบโรงเรียนและให้รวมถึงโรงเรียนนานาชาติเงินบํารุงการศึกษา หมายความว่า เงินประเภทต่างๆ ที่สถานศึกษาของทางราชการเรียกเก็บตามอัตราที่ได้รับอนุมัติจากกระทรวงศึกษาธิการ ส่วนราชการเจ้าสังกัด หรือที่กํากับ มหาวิทยาลัย องค์การ
บริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตําบล กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีกฎหมายจัดตั้ง หรือองค์การของรัฐบาล
เงินค่าเล่าเรียน หมายความว่า เงินค่าธรรมเนียมการเรียนหรือค่าธรรมเนียมต่างๆ ซึ่งสถานศึกษาของเอกชนเรียกเก็บตามอัตราที่ได้รับอนุมัติจากกระทรวงศึกษาธิการค่าธรรมเนียมการเรียน หมายถึง เงินที่สถานศึกษาเอกชนเรียกเก็บตามอัตราที่ได้รับอนุมัติจากส่วนราชการที่ควบคุมดูแลสถานศึกษานั้น และให้หมายความรวมถึงค่าธรรมเนียมอื่นเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วย

ปีการศึกษา หมายความว่า ปีการศึกษาที่กําหนดโดยกระทรวงศึกษาธิการ ส่วนราชการเจ้าสังกัดหรือที่กํากับ มหาวิทยาลัย องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตําบล กรุงเทพมหานครเมืองพัทยา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีกฎหมายจัดตั้งหรือองค์การของรัฐบาล

advertisement

การใช้สิทธิ
1. กรณีผู้มีสิทธิมีคู่สมรสเป็นข้าราชการ หรือ ลูกจ้างประจําหรือ ผู้ได้รับบํานาญ เบี้ยหวัดให้คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ใช้สิทธิขอรับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรทุกคนแต่เพียงฝ่ายเดียว

1.1 ในกรณีที่ผู้มีสิทธิมีคู่สมรสเป็นข้าราชการ หรือ ลูกจ้างประจํา หรือผู้ได้รับบํานาญเบี้ยหวัดที่อยู่ในส่วนราชการเดียวกัน ผู้ใช้สิทธิจะต้องรับรองตนเองในใบเบิกเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรว่าตนเป็นผู้ใช้สิทธิเบิกเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรแต่เพียงฝ่ายเดียว

1.2 กรณีผู้ใช้สิทธิมีคู่สมรสเป็นข้าราชการ หรือลูกจ้างประจํา หรือผู้ได้รับบํานาญเบี้ยหวัดอยู่ต่างส่วนราชการผู้เบิก ก่อนการใช้สิทธิตามวรรคแรกและในกรณีที่เปลี่ยนส่วนราชการผู้เบิกของผู้ใช้สิทธิผู้ใช้สิทธิจะต้องรับรองตนเองว่าเป็นผู้ใช้สิทธิแต่เพียงฝ่ายเดียว โดยส่วนราชการเจ้าสังกัดหรือส่วนราชการผู้เบิกบํานาญเบี้ยหวัดของผู้ใช้สิทธิต้องแจ้งการใช้สิทธิตามที่ผู้นั้นร้องขอให้ส่วนราชการเจ้าสังกัดหรือส่วนราชการผู้เบิกบํานาญเบี้ยหวัดของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งทราบ และตอบรับตามแบบที่กรมบัญชีกลางกําหนด

2. กรณีที่ผู้มีสิทธิมีคู่สมรสที่มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรและใช้สิทธิจากหน่วยงานอื่นแล้ว ผู้นั้นไม่มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรตามพระราชกฤษฎีกานี้เว้นแต่ผู้มีสิทธิสามารถใช้สิทธิขอรับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรได้เฉพาะส่วนที่ต่ํากว่าสิทธิที่พึงจะได้รับ
ตามที่กําหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร

3. กรณีบิดาหรือมารดาที่ชอบด้วยกฎหมายของบุตรที่ได้หย่า หรือแยกกันอยู่โดยมิได้หย่ากันตามกฎหมาย (หนังสือกรมบัญชีกลาง ที่ กค0417/ว36 ลงวันที่ 6 กันยายน 2549 เรื่อง การเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรและการรักษาพยาบาลสาหรับบุตรในกรณีที่ผู้มีสิทธิและคู่สมรสได้หย่า
หรือแยกกันอยู่โดยมิได้หย่ากันตามกฎหมาย)

3.1 กรณีผู้มีสิทธิและคู่สมรสเป็นข้าราชการทั้งสองฝ่าย ให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ใช้สิทธิขอรับเงินสวัสดิการสาหรับบุตรของตนได้แม้จะมิได้เป็นฝ่ายที่ปกครองหรืออุปการะเลี้ยงดูบุตรของตน โดยผู้ใช้สิทธิขอรับเงินสวัสดิการสําหรับบุตร จะต้องรับรองตนเองว่าเป็นผู้ใช้สิทธิแต่เพียงฝ่ายเดียว โดยให้ส่วนราชการเจ้าสังกัดแจ้งการใช้สิทธิเบิกเงินสวัสดิการให้ส่วนราชการเจ้าสังกัดของคู่สมรสอีกฝ่ายได้ทราบและตอบรับให้กับส่วนราชการเจ้าสังกัดของผู้ใช้สิทธิขอรับเงินสวัสดิการสาหรับบุตรตามแบบที่กรมบัญชีกลางกําหนด

3.2 กรณีผู้มีสิทธิฝ่ายเดียวเป็นข้าราชการ เมื่อหย่ากับคู่สมรสหรือแยกกันอยู่โดยมิได้หย่ากันตามกฎหมายกับคู่สมรสผู้มีสิทธิขอรับเงินสวัสดิการสําหรับบุตรของตนได้แม้จะมิได้เป็นฝ่ายปกครองหรือ อุปการะเลี้ยงดูบุตรของตน

3.3 กรณีผู้มีสิทธิมีคู่สมรสที่มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรจากหน่วยงานอื่น เมื่อหย่าหรือแยกกันอยู่โดยมิได้หย่ากันตามกฎหมาย แม้ผู้มีสิทธิจะมิได้เป็นฝ่ายปกครองหรืออุปการะเลี้ยงดูบุตรของตน ผู้มีสิทธิสามารถใช้สิทธิขอรับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรได้เฉพาะส่วนที่ต่ํากว่าสิทธิที่พึงจะได้รับตามที่กําหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร

ทั้งนี้ การใช้สิทธิดังกล่าวในครั้งแรก ให้ส่วนราชการเจ้าสังกัดเรียกเอกสารเพื่อประกอบการเบิกจ่ายโดย

1. กรณีที่มีการหย่ากันตามกฎหมายให้แนบ สําเนาทะเบียนการหย่า
2. กรณีที่แยกกันอยู่โดยมิได้หย่ากันตามกฎหมายให้แนบ สําเนาทะเบียนสมรส

ระยะเวลาการขอเบิก

1. การขอเบิกสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาบุตร กรณีสถานศึกษาเก็บเงินเป็นรายภาคเรียนต้องยื่นหลักฐานขอเบิกภายใน 1 ปีนับแต่วันเปิดภาคเรียนของแต่ละภาค
2. การขอเบิกเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาบุตร กรณีสถานศึกษาเก็บเงินเป็นรายปีการศึกษาต้องยื่นหลักฐานขอเบิกภายใน 1 ปีนับตั้งแต่วันเปิดภาคเรียนแรกของปีการศึกษานั้นๆ

ดาวน์โหลดเอกสารการขอเบิกเงินสวัสดิการค่าการศึกษาบุตร เพิ่มเติม คลิกที่นี่

อัตราเบิกค่าเล่าเรียนบุตร ข้าราชการ 2566 เบิกได้เท่าไหร่ ใช้หลักฐานอะไร ตรรวสอบอัตราเบิกค่าเล่าเรียนบุตร คลิกที่นี่
อัตราเบิกค่าเล่าเรียนบุตรข้าราชการ 2566 เบิกได้เท่าไหร่ ใช้หลักฐานอะไร ตรรวสอบอัตราเบิกค่าเล่าเรียนบุตร คลิกที่นี่
อัตราเบิกค่าเล่าเรียนบุตร ข้าราชการ 2566 เบิกได้เท่าไหร่ ใช้หลักฐานอะไร ตรรวสอบอัตราเบิกค่าเล่าเรียนบุตร คลิกที่นี่
อัตราเบิกค่าเล่าเรียนบุตรข้าราชการ 2566 เบิกได้เท่าไหร่ ใช้หลักฐานอะไร ตรรวสอบอัตราเบิกค่าเล่าเรียนบุตร คลิกที่นี่
อัตราเบิกค่าเล่าเรียนบุตร ข้าราชการ 2566 เบิกได้เท่าไหร่ ใช้หลักฐานอะไร ตรรวสอบอัตราเบิกค่าเล่าเรียนบุตร คลิกที่นี่
อัตราเบิกค่าเล่าเรียนบุตรข้าราชการ 2566 เบิกได้เท่าไหร่ ใช้หลักฐานอะไร ตรรวสอบอัตราเบิกค่าเล่าเรียนบุตร คลิกที่นี่

 

เอกสารเบิกค่าเล่าเรียนบุตร ข้าราชการ 2566 การเบิกค่าเล่าเรียนบุตร โดย กระทรวงการคลัง ใช้หลักฐานอะไรบ้าง รายละเอียดข้องล่างนี้ค่ะ ทั้งนี้ให้เช็ครายละเอียด กับต้นสังกัดอีกรอบค่ะ
หลักฐาน/เอกสารที่ใช้เบิกจ่าย
1. ใบเบิกเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร (แบบ 7223)
2. ใบเสร็จรับเงินจากสถานศึกษา
3. สําเนาใบอนุญาตของกระทรวงศึกษาธิการ กรณีเป็น สถานศึกษาเอกชน
4. หลักฐานแยกกันอยู่ (แบบ บก.ชล.8) กรณีไม่ประสงค์จะอยู่ ร่วมกันฉันท์สามีภรรยา
5. หนังสือแจ้งการใช้สิทธิและหนังสือตอบรับการแจ้งการใช้ สิทธิ (กรณีใช้สิทธิ์ภรรยา)
6. สําเนาหนังสือสําคัญแสดงการรับรองบุตรกรณีไม่ได้จดทะเบียนสมรส

ดาวน์โหลด ใบเบิกเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร (แบบ 7223) ได้ที่นี่

ดาวน์โหลดเอกสาร สวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาบุตร จากกรมบัญชีกลาง คลิกที่นี่

ขอบคุณข้อมูลจาก กรมบัญชีกลาง

เรื่องราวที่น่าสนใจ ราคากลางวัสดุก่อสร้าง 2566 บัญชีราคาค่าวัสดุและค่าแรง สพฐ. ปีงบประมาณ 2567

มาตรฐานครุภัณฑ์ 2566 คอมพิวเตอร์ ราคามาตรฐานครุภัณฑ์ 66 กรมบัญชีกลาง ดาวน์โหลด ทีนี่

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments