กระทู้ธรรมชั้นตรี โท เอก 2566 เรียงความ แก้กระทู้ธรรมชั้นตรี ชั้นโท ชั้นเอก ข้อสอบธรรมศึกษาชั้นตรี 66 พร้อมเฉลย คลิกที่นี่
สวัสดีค่ะวันนี้ทีมงาน ครูคูลดอทคอม มีเรื่องราวเกี่ยวกับ กระทู้ธรรมชั้นตรี โท เอก 2566 เรียงความ แก้กระทู้ธรรมชั้นตรี ชั้นโท ชั้นเอก ข้อสอบธรรมศึกษาชั้นตรี 66 พร้อมเฉลย คลิกที่นี่ มาให้ทุกท่านได้ติดตาม โดยมีรายละเอียด ดังนี้ค่ะ
กระทู้ธรรมคือ ?
การเรียงความแก้กระทู้ธรรม เป็นการแสดงออกซึ่งความรู้ ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึก ของผู้เขียนซึ่งได้มาจากการศึกษาวิชาธรรมะ พุทธะ และเบญจศีลเบญจธรรม ว่าสามารถจะถ่ายทอดความรู้ ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึกออกไปสู่ผู้อื่นได้ดีหรือไม่
การเรียนรู้วิชาธรรมะ พุทธะ และเบญจศีลเบญจธรรม เปรียบเหมือนนักเรียนไปเก็บเอาดอกไม้ที่ต่างสี ต่างขนาด มากองรวมกันไว้ ส่วนการเรียงความแก้กระทู้ธรรม เปรียบเหมือนนักเรียนคัดเอาดอกไม้เหล่านั้นมาปักแจกัน จะทำได้สวยงามแค่ไหน ก็ขึ้นอยู่กับความสามารถของแต่ละคน ที่จะแต่งอย่างไร
ตามหลักธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนา การเขียนหรือการพูดที่จัดว่าดีนั้น ต้องเกิดประโยชน์แก่ผู้อ่านหรือผู้ฟัง ๔ ประการ คือ ๑. ได้ความรู้ความเข้าใจ ๒. เกิดความเลื่อมใสใคร่ปฏิบัติตาม ๓. กล้าทำความดี ๔. มีความบันเทิงใจ ไม่เบื่อหน่าย
1. ผู้อ่านหรือผู้ฟังจะได้รับความรู้ ความเข้าใจนั้น ผู้เขียนและผู้พูดจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องนั้นเป็นอย่างดีเสียก่อน สรุป สั้น ๆ คือ จำได้ เข้าใจชัด ปฏิบัติถูกต้อง
2. ผู้อ่านหรือผู้ฟัง จะเกิดความเลื่อมใส ใคร่ปฏิบัติตาม ผู้เขียนหรือผู้พูดจะต้องชี้แจงให้เห็นโทษของการไม่ปฏิบัติอย่างนั้นว่า ไม่ดีอย่างไร
3. ผู้อ่านหรือผู้ฟังจะกล้าทำความดี ผู้เขียนหรือผู้พูด จะต้องชี้แจงให้เห็นคุณค่าหรือประโยชน์ของการปฏิบัติอย่างนั้นว่า ดีอย่างไร
4. ผู้อ่านหรือผู้ฟัง จะมีความบันเทิงใจ ไม่เบื่อหน่าย ก็เพราะได้รับความรู้ความเข้าใจ เห็นโทษของการไม่ปฏิบัติ และเห็นคุณประโยชน์ของการปฏิบัตินั้น ๆ นั่นเอง
ฉะนั้น วิชากระทู้ธรรมจึงเป็นวิชาที่สำคัญ น่าศึกษาวิชาหนึ่ง เพราะเป็นการเอาวิชาที่เรียนแล้วมาประติดประต่อให้ได้ใจความสอดคล้องกับกระทู้ธรรมตามที่สนามหลวงออกมา เป็นการแสดงให้เห็นถึงความรู้ ความเข้าใจ ความคิดและความรู้สึกที่แท้จริงของผู้เขียน และเป็นเหตุให้เกิดความรู้ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึกแก่ผู้อื่นด้วย นักเรียนจึงควรเอาใจใส่ฝึกคิด ฝึกเขียน ฝึกพูดบ่อย ๆ จะ ได้เป็นคนดีมีความสามารถ โปรดนึกถึง พุทธภาษิตบทหนึ่งอยู่เสมอว่า ทนฺโต เสฏฺโฐมนุสฺเสสุ ผู้ฝึกฝนตน (อยู่เสมอ) เป็นผู้ประเสริฐที่สุดในมวลมนุษย์
หลักเกณฑ์การแต่งกระทู้
ผู้จะแต่งกระทู้ จำเป็นจะต้องทราบหลักเกณฑ์ในการแต่งกระทู้ก่อน หลักเกณฑ์ในการแต่งกระทู้นั้น ผู้ศึกษาพึงทราบตามที่สนามหลวงแผนกธรรมได้วางเป็นหลักเอาไว้ดังข้อความว่า
แต่งอธิบายให้สมเหตุสมผล อ้างสุภาษิตอื่นมาประกอบด้วย ๑ ข้อ และบอกชื่อคัมภีร์ที่มาแห่งสุภาษิตนั้นด้วย สุภาษิตที่อ้างมานั้น ต้องเรียงเชื่อมความให้สนิทติดต่อ สมกับกระทู้ตั้ง
ชั้นนี้ (ธรรมศึกษาชั้นตรี) กำหนดให้เขียนลงในใบตอบ ตั้งแต่ ๒ หน้า (เว้นบรรทัด) ขึ้นไป
วิธีการแต่งกระทู้
เมื่อทราบหลักเกณฑ์การแต่งกระทู้โดยย่อแล้ว ต่อไปควรทราบวิธีการแต่ง วิธีการแต่งกระทู้มีองค์ประกอบใหญ่ ๆ ๓ อย่าง คือ
1. คำเริ่มต้น ได้แก่คำว่า บัดนี้ จักอธิบายขยายความธรรมภาษิต ที่ได้ยกขึ้นนิกเขปบท เพื่อเป็นแนวทางแห่งการศึกษา และปฏิบัติธรรมตามสมควรแก่เวลา หรืออื่นใดตามที่เหมาะสม
2. คำขยายความ คืออธิบายเนื้อความแห่งธรรมภาษิต ซึ่งเป็นกระทู้ปัญหา พร้อมทั้งอ้างสุภาษิตอื่นมาประกอบอย่างน้อย 1 ข้อ พร้อมทั้งบอกที่มาให้ถูกต้อง
3. คำลงท้าย คือ สรุปเนื้อความที่ได้อธิบายมาแล้วโดยย่ออีกครั้งหนึ่ง ให้สอดคล้องกับกระทู้ปัญหา จบลงด้วยคำว่า สมกับธรรมภาษิตว่า……….หรือ พระพุทธองค์จึงตรัสว่า………. ตามความเหมาะสม (ช่องว่างที่เว้นไว้หมายถึง กระทู้ปัญหาพร้อมทั้งคำแปล)
8 ขั้นตอนการเขียนกระทู้ธรรมตรี
การแต่งกระทู้ธรรมชั้นตรี จะมีขั้นตอนหลักๆ อยู่ ๘ ขั้นตอนใหญ่ จะเห็นว่ามีตัวเลขกำกับอยู่ด้านหน้า หมายถึงขั้นตอนที่ต้องเขียนดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 เขียน “สุภาษิตบทตั้งพร้อมคำแปล” เป็นสุภาษิตที่สนามหลวงกำให้เป็นโจทย์ ต้องเขียนไว้กึ่งกลางหน้ากระดาษ
ขั้นตอนที่ 2 ย่อหน้าเขียน คำนำหรืออารัมภบท คือเขียนคำว่า “บัดนี้ จักได้ …สืบต่อไป”
ขั้นตอนที่ 3 ย่อหน้าเขียน อธิบายเนื้อความสุภาษิตบทตั้ง ประมาณ 8-15 บรรทัด จากนั้นต่อด้วยคำ “สมดังสุภาษิต ที่มาใน …ว่า” เช่น “สมดังสุภาษิตที่มาใน ขุทฺทกนิกาย ธรรมบท ว่า” ต้องปิดด้วยคำว่า “ว่า” เสมอ เป็นการบอกที่มาของสุภาษิตเชื่อมก่อนจะเขียนในขั้นที่ 4
ขั้นตอนที่ 4 เขียน สุภาษิตเชื่อมพร้อมคำแปล เป็นสุภาษิตที่เราจำมาเอง ให้อยู่กึ่งกลางและตรงกับสุภาษิตบทตั้งด้วย
ขั้นตอนที่ 5 ย่อหน้าเขียน อธิบายเนื้อความสุภาษิตเชื่อม ประมาณ ๘-๑๕ บรรทัด
ขั้นตอนที่ 6 ย่อหน้าเขียน สรุปความกระทู้ธรรม ให้ได้ใจความสาระสำคัญ ประมาณ ๕-๖ บรรทัด เมื่อสรุปเสร็จแล้ว ต้องเขียนต่อด้วยคำว่า “สมดังสุภาษิตที่ยกขึ้นเป็นนิกเขปบทเบื้องต้นว่า
ขั้นตอนที่ 7 ให้ยกสุภาษิตบทตั้งพร้อมคำแปล มาเขียนปิดอีกครั้งหนึ่ง และจะต้องเขียนให้อยู่กึ่งกลางตรงกันพอกับสุภาษิตเชื่อม
ขั้นตอนที่ 8 บรรทัดสุดท้ายเขียนคำว่า “มีนัยดังพรรณนามาด้วยประการฉะนี้” เพื่อปิดการเขียนเรียงแก้กระทู้ธรรมทั้งหมด
สำคัญ : ตั้งแต่ขั้นตอนที่ 1 จนถึง 8 ต้องเขียน “เว้นบรรทัดทุกบรรทัด”
เรื่องราวที่น่าสนใจ : กระทู้ธรรมชั้นเอก 2566 ตัวอย่างกระทู้ธรรม ชั้นตรี ชั้นโท ชั้นเอก เรียงความแก้กระทู้ธรรม 66 ดาวน์โหลด คลิกที่นี่
เฉลยข้อสอบธรรมศึกษา ชั้นตรี โท เอก กระทู้ธรรม ทุกปี พ.ศ. 2553-2564 ดาวน์โหลด ที่นี่
ตัวอย่างกระทู้ธรรม ธรรมศึกษาชั้นตรี
กระทู้ธรรม ธรรมศึกษาชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันที่ ………พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
พาลา หเว นปฺปสํสนฺติ ทานํ
คนพาลเท่านั้น ย่อมไม่สรรเสริญทาน
บัดนี้ จักได้อธิบายความแห่งกระทู้ธรรม ตามกฎเกณฑ์ที่กำหนดไว้ เพื่อเป็นแนวทางแห่งการศึกษา และปฏิบัติธรรมตามสมควรแก่ธรรม สำหรับผู้สนใจใคร่ธรรมทุกท่าน
ทาน หมายถึงการบริจาคสิ่งของของตน คือ อาหาร น้ำดื่มเสื้อผ้า ผ้าห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค และของใช้ที่จำเป็นแก่ชีวิต ให้แก่ผู้อื่นด้วยวัตถุประสงค์ 2 ประการคือ
1. เพื่อช่วยเหลือ เพื่ออุดหนุนบุคคลผู้ไม่มีหรือผู้ขาดแคลนสิ่งเหล่านั้นเช่น ผู้ประสบภัยน้ำท่วม ไฟไหม้ เด็กกำพร้า คนชรา เป็นต้น
2. เพื่อบูชาคุณความดีของผู้ทรงศีล ทรงธรรม ตัวอย่างเช่นพระสงฆ์อีกอย่างหนึ่ง ทาน หมายถึง การงดเว้นจากการทำบาป 5 อย่างดังพระพุทธพจน์ว่า อริยสาวกในศาสนานี้เป็นผู้ละปาณาติบาต เว้นขาดจากปาณาติบาต เป็นผู้ละอทินนาทาน เว้นขากจากอทินนาทาน เป็นผู้ละกาเมสุมิจฉาจาร เว้นขาดจากกาเมสุมิจฉาจาร เป็นผู้ละมุสาวาท เว้นขาดจากมุสาวาท เป็นผู้ละการดื่มสุราและอันเป็นเหตุแห่งความประมาท ชื่อว่า เขาได้ให้ความไม่มีภัย ความไม่มีเวร ความไม่เบียดเบียนแก่สัตว์ทั้งหลายหาประมาณมิได้ เมื่อเขาให้ความไม่มีภัย ความไม่มีเวร และความไม่เบียดเบียนแก่สัตว์ทั้งหลายหาประมาณมิได้ ตัวเขาเองก็เป็นผู้มีส่วนได้รับความไม่มีภัย ความไม่มีเวร และความไม่เบียดเบียนจากผู้อื่นหาประมาณมิได้เช่นเดียวกันทั้ง 5 นี้ จัดเป็นทานอันยิ่งใหญ่ เป็นทานที่เลิศกว่าทานทั้งหลาย เป็นวงศ์ของอริยชน เป็นของเก่า อันสมณพราหมณ์ผู้เป็นวิญญูชนไม่คัดค้าน ไม่ลบล้างทานทั้ง 2 ประการ คือ การให้วัตถุสิ่งของมีอาหารเป็นต้น และการให้อภัยมีการไม่ฆ่าเป็นต้นดังกล่าวมา ช่วยรักษาชีวิตมนุษย์และสัตว์ทั้งหลายให้รอดพ้นจากความตายได้ อุทาหรณ์ที่เห็นง่ายที่สุดคือ เมื่อมนุษย์เกิดมา มารดาบิดาให้น้ำนมดื่ม ให้ข้าวป้อน ดูแลรักษา และไม่มีคนมาฆ่า เด็กทารกนั้นจึงรอดตายและเจริญเติบโตได้ ตรงกันข้าม ถ้ามารดา บิดา หรือผู้อื่นใดไม่ให้น้ำนม ข้าวป้อน ดูแลรักษา หรือมีคนมาฆ่า เด็กทารกนั้นคงไม่รอดตายมาได้ เพราะในเวลานั้น เขายังไม่สามารถจะหาอะไรมารับประทานได้เอง และไม่สามารถจะต่อสู้กับใครได้ อย่าว่าแต่ต่อสู้กับมนุษย์ตัวโต ๆ เลย สู้กับมดและยุงก็ไม่ไหวแล้วเพราะฉะนั้น ทาน จะในความหมายว่า ให้วัตถุสิ่งของแก่ผู้อื่นหรือให้อภัย คือ ความไม่มีภัย ไม่มีเวร ไม่มีเบียดเบียนแก่ผู้อื่นก็ตาม ล้วนมีความสำคัญต่อชีวิตทุกชีวิตเป็นอย่างยิ่ง เพราะช่วยให้มนุษย์และสัตว์รอดพ้นจากความตายมาได้ ดังกล่าวแล้ว
ฉะนั้นพระโพธิสัตว์จึงได้กล่าวไว้ในสัตตกนิบาตชาดกในขุททกนิกายว่า ทเทยฺย ปุริโส ทานํ แปลว่า คนควรให้ทาน
แต่ทานทั้ง 2 ประการนี้ ไม่ใช่จะให้กันได้ง่าย ๆ ทุกคนโดยเฉพาะคนพาล คือ คนที่ชอบทำชั่ว ชอบพูดชั่ว ชอบคิดชั่ว ชอบทำชั่ว คือชอบประพฤติกายทุจริต คือ ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม ชอบพูดชั่ว คือ ชอบพูดเท็จ ชอบพูดส่อเสียด ชอบพูดคำหยาบ ชอบพูดคำเพ้อเจ้อ ชอบคิดชั่ว คือ ชอบโลภอยากได้ของผู้อื่น ชอบคิดร้ายต่อผู้อื่น ชอบเห็นผิดเป็นชอบ อย่างที่เรียกว่า เห็นกงจักรเป็นดอกบัว พฤติกรรมทั้งหมดนี้ ล้วนเป็นปฏิปักษ์ คือ ตรงกันข้ามกับคุณธรรมที่เรียกว่า ทานทั้ง 2 ประการนั้นทั้งสิ้น
การเห็นคุณค่าของทาน แล้วบริจาคสิ่งของเพื่อช่วยเหลือผู้ขาดแคลนหรือเพื่อบูชาความดีของผู้ทรงคุณความดีด้วยตนเองและชักชวนบุคคลอื่นให้ปฏิบัติเช่นนั้นก็ดี การให้ความไม่มีภัยแก่ชีวิต ทรัพย์สิน และเกียรติยศชื่อเสียงของผู้อื่นก็ดี ชื่อว่า สรรเสริญทาน พฤติกรรมที่ดีเช่นนี้ จะทำได้ก็แต่คนดีมีศีล มีกัลยาณธรรมเท่านั้น ส่วนคนชั่ว คือ คนพาลนั้น ยากที่จะทำได้ สมกับพระพุทธพจน์ ในธรรมบทขุททกนิกาย ว่า
สาธุ ปาเปน ทุกกรํ
คนชั่ว ทำความดียาก
คนพาลนั้นนอกจากจะไม่ให้ทานและไม่เห็นคุณค่าของทานแล้ว ยังทำอันตรายต่อทาน เช่นลักขโมยทรัพย์สินของผู้บริจาคทาน ทุจริตคดโกงเอาเงินหรือสิ่งของที่ผู้ใจบุญบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัยมาเป็นของตนเองเสียอีกด้วย ดังได้ฟัง ได้เห็น เป็นข่าวมากมาย
จึงกล่าวโดยสรุปได้ว่า การที่คนพาลไม่ให้ทานไม่เห็นคุณค่าของทานทั้ง ๒ อย่าง คือ วัตถุทาน และอภัยทาน ขัดขวางผู้บริจาคทาน และทำอันตรายต่อทานด้วยการทุจริตคดโกง ดังกล่าวมา เป็นการกระทำที่แสดงออกถึงการไม่สรรเสริญทานตามธรรมภาษิตว่า
พาลา หเว นปฺปสํสนฺติ ทานํ
คนพาลเท่านั้น ย่อมไม่สรรเสริญทาน
ดังพรรณนามาฉะนี้แล ฯ
ตัวอย่าง การตอบกระทู้ธรรม
ดาวน์โหลดกระทู้ธรรมชั้นตรี โท เอก 2566 เรียงความ แก้กระทู้ธรรมชั้นตรี ชั้นโท ชั้นเอก เพิ่มเติม คลิกที่นี่
ดาวน์โหลดกระทู้ธรรมชั้นตรี โท เอก 2566 เรียงความ แก้กระทู้ธรรมชั้นตรี ชั้นโท ชั้นเอก เพิ่มเติม คลิกที่นี่
ดาวน์โหลดกระทู้ธรรมชั้นตรี โท เอก 2566 เรียงความ แก้กระทู้ธรรมชั้นตรี ชั้นโท ชั้นเอก เพิ่มเติม คลิกที่นี่
ขอบคุณที่มาจาก : https://www.facebook.com/page/
เรื่องราวที่น่าสนใจ :
กระทู้ธรรม 2566 การเขียนเรียงความ แก้กระทู้ธรรม ระดับ ธรรมศึกษาชั้นตรี โท เอก
ผลสอบนักธรรมตรี 2566 ตรวจผลแม่กองธรรมสนามหลวง ผลสอบ ปี 66 เช็คผลสอบนักธรรมตรี โท เอก คลิกที่นี่